วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

ศูนย์การเรียนรู้ระบบนิเวศน์ป่าชายเลน สิรินาถราชินี[แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ]













รายงาน

นักศึกษาที่ดีต้องท่องเที่ยว อย่างมีคุณค่า

ชื่อองค์กร
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์




หลักการและเหตุผล

ป่าชายเลน หรือ ป่าโกงกาง มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า "mangroveforest" หรือ "intertidal forest" คือเป็นกลุ่มสังคมพืชซึ่งขึ้นอยู่ในเขต น้ำลงต่ำสุดและน้ำขึ้นสูงสุด บริเวณชายฝั่งทะเล ป่าชนิดนี้ได้มีการค้นพบมาตั้งแต่สมัยโคลัมบัส (Columbus) โดยพบอยู่ทางชายฝั่งตะวันตกของเกาะคิวบา ต่อมา Sir Walter Raleigh(1494) ได้พบป่าชนิดเดียวกันนี้อยู่บริเวณปากแม่น้ำในประเทศตรินิแดด (Trinidad) และกิอานา (Guiana)"mangrove" มาจากภาษาโปรตุเกสคำว่า "mangue" ซึ่งหมายถึงกลุ่มสังคมพืชที่ขึ้นอยู่ตามชายฝั่งทะเลดินเลน และใช้กันแพร่หลายในประเทศแถบลาตินอเมริกา ส่วนประเทศอื่น ๆ ก็ใช้เรียกตามภาษาของตัวเอง เช่น ประเทศมาเลเซียใช้คำว่า "manggi-manggi" ประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเรียกป่าชายเลนว่า "manglier" สำหรับประเทศไทยนิยมเรียกป่าชนิดนี้ว่า "ป่าชายเลน" หรือ "ป่าโกงกาง"
ป่าชายเลนที่เกิดขึ้นในส่วนต่างๆของโลกโดยธรรมชาติเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์
เป็นที่รวมของพืชและสัตว์นานาชนิดแต่คนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจถึงความสำคัญและไม่สนใจกันอย่างจริงจังมาเป็นเวลานาน ในระยะหลังป่าชายเลนได้ถูกบุกรุกเพื่อประโยชน์ใช้สอยกันมากขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดความเสียสมดุลทางระบบนิเวศอย่างมหาศาล เช่น การเข้าไปทำนากุ้ง การบุกรุกเข้าไปอยู่อาศัย บางแห่งถูกทำลายจนหมดสภาพป่าชายเลนอีกต่อไป สัตว์น้ำเศรษฐกิจหลายชนิดที่เราบริโภคลดเหลือน้อยลงทุกทีจึงควรหันมาสนใจและเข้าใจถึงความสำคัญของป่าชายเลนกันให้มากขึ้น เพื่อช่วยกันปกป้องและดำรงไว้ให้มากที่สุด และถ้าจะมีการปลูกเพิ่มในส่วนที่ถูกทำลายไปก็จะเป็นการดียิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2. เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าโกงกาง และ แหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ

3. เพื่อรณรงค์สร้างจิตสำนึก ให้กับผู้ร่วมกิจกรรมและชุมชนในพื้นที่
ให้เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน

4. เพื่อลดภาวะโลกร้อน

5.เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ ความสามัคคี ความสมานฉันท์ และความเข้าใจอันดีให้แก่
นิสิตนักศึกษา

6.สร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตโดการเรียนรู้จากสถานที่จริง

7.ได้ศึกษาหาความรู้ ที่แท้จริงเกี่ยวกับป่าชายเลนและระบบนิเวศชายฝั่ง เพราะตระหนักถึงภัยพิบัติธรรมชาติร้ายแรง ที่ได้เกิดขึ้นกับเรา ที่ไปทำลายป่าชายเลน และระบบนิเวศชายฝั่ง อีกทั้งพร้อมที่จะนำความรู้มาเผยแพร่ ปฎิบัติ ด้วยความรักและหวงแหนธรรมชาติอย่างางแท้จริง

ศูนย์การศึกษาเรียนรู้
ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี


เหมาะกับนักท่องเที่ยวที่ต้องการศึกษาหาความรู้ ระบบนิเวศน์ป่าชายเลน สภาพภูมิทัศน์โดยรอบสงบร่มรื่น เย็นสบาย และมีการจัดแสดงบรรยายสรุป และการแนะนำสถานที่จากเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ การเดินทางมาท่องเที่ยวสะดวกสบายเพียง 30 กม.จาก อ.หัวหิน และยังสามารถที่จะไปเที่ยวต่อยังชายหาดเขากะโหลก ซื้อของฝากจากทะเล และ เดินทางเลียบชายทะเลไปเที่ยวต่อยัง อ.สามร้อยยอดได้ในปี 2547 ซึ่งเป็นปีที่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมายุครบ 72 พรรษา ปตท. ได้ดำเนินโครงการเทิดพระเกียรติเนื่องในวโรกาสมหามงคลนี้ โดยได้จัดทำโครงการศูนย์ เรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี ขึ้น ณ พื้นที่แปลงปลูกป่า FPT ที่ 29 และ 29/3 ต. ปากน้ำปราณ อ.ปราณบุรี จ. ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นแปลงฯที่ ปตท.ร่วมกับประชาชนชาวไทย ประกอบพิธีน้อมเกล้าฯ ถวายผืนป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ 1 ล้านไร่แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2545


ศูนย์การศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินีนี้ เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ในระบบนิเวศป่า ชายเลนสาธารณที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าเยี่ยมชมได้ นอกจากนี้ชุมชนและเยาวชนในพื้นที่ จะได้รับประโยชน์จากการเป็นแหล่งศึกษา เรียนรู้ในระบบนิเวศป่าชายเลนสาธารณะ ที่ประชาชน ทั่วไปสามารถเข้าเยี่ยมชมได้ นอกจากนี้ ยังเป็นสถานที่อนุบาลสัตว์น้ำ เช่น ปู กุ้ง หอย ซึ่งเป็น แหล่งอาหารสำหรับการดำรงชีวิตอย่างพึ่งพากันและกันระหว่าง มนุษย์ –สัตว์ –ป่าไม้ อย่างสมดุล

ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศ
ป่าชายเลนสิรินาถราชินี ประกอบด้วย


1. พื้นที่อาคารเฉลิมพระเกียรติและส่วนบริการนักท่องเที่ยว (Visitor Service Zone)

2. พื้นที่เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ( Natural Trail Route Zone) ประกอบด้วย ศาลาที่ประทับและเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ

3. พื้นที่ศึกษาเรียนรู้ ( Education Zone )

3.1 พื้นที่ศึกษาวิจัย เป็นบริเวณที่มีลักษณะทางกายภาพ และโครงสร้างของระบบนิเวศของพืชและสัตว์ที่ ใกล้เคียงกับระบบนิเวศใน ส่วนอื่นๆของป่าชายเลนแห่งนี้ เพื่อใช้เป็นพื้นที่ตัวแทนสำหรับการศึกษา

3.2 พื้นที่สาธิต/ทดลอง เป็นบริเวณแปลงนากุ้งร้างหรือป่าหย่อมเล็กๆ ซึ่งต้องมีการปรับพื้นที่ให้มีทางน้ำเข้า –ออกเลียนแบบระบบ ธรรมชาติ รวมทั้งระบบการกั้นและเก็บกักน้ำเพื่อการทดลอง

3.3 ศูนย์สาธิตการเผาถ่านอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

3.4 เรือนเพาะชำกล้าไม้

4. พื้นที่เชื่อมต่อกับวนอุทยานปราณบุรี (Connect Area Zone) เป็นส่วนเชื่อมต่อทำให้เกิดการท่องเที่ยวบริเวณแม่น้ำปราณบุรี ระหว่างวนอุทยานปราณบุรี แม่น้ำปราณบุรี และแปลงปลูกป่า FPT 29 และ FPT29/3 ซึ่งประกอบด้วย

4.1 ท่าจอดเรือ เพื่อรับผู้เยี่ยมชมที่มาจากทางน้ำ จากวนอุทยานปราณบุรีและแม่น้ำปราณบุรี

4.2 Green Shutter เพื่อขนส่งผู้เยี่ยมชมไป –กลับระหว่างท่าจอดเรือและศูนย์สิรินาถราชินี โดยจะเป็น shutter ที่ใช้พลังงานจาก NGV หรือไฟฟ้าเท่านั้น

5. พื้นที่ชุมชนใช้ประโยชน์ร่วม ( Communal Zone ) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของแปลง ปลูกป่า FPT 29 และ FPT29/3 โดยจะ ปล่อยให้เป็นพื้นที่ป่าชายเลนที่เติบโต ตามธรรมชาติและยังคงดำรงไว้ซึ่งวิถี ชีวิตของผู้คนที่ได้พึ่งพิงอาศัยป่าเพื่อการยังชีพทั้งทางตรงและ ทางอ้อม โดยพื้นที่นี้จะไม่อนุญาตให้ผู้ใช้บริการเข้าชม

กิจกรรม
หลังจากฟังบรรยายต่างๆได้รับความรู้เสร็จแล้ว ก็ได้เวลากิจกรรมนอกห้องเรียน ได้สัมผัสว่าที่ได้รับความรู้มารูปร่างหน้าตาเป็นยังไงตื่นเต้นมากค่ะ คือ พวกเราก็ได้เดิน ศึกษาธรรมชาติระยะทาง 1 กม. ลัดเลาะไปตามป่าชายเลน ให้สัมผัสระบบนิเวศอย่างใกล้ชิด โดยบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้อบรมมัคคุเทศก์รุ่นเยาว์จากเยาวชน ในพื้นที่เพื่อให้เป็นตัวแทนเล่าเรื่อง ราวของป่าชายเลนแก่ผู้มาเยี่ยมชม และยังเป็นการปลูกฝังความรัก และหวงแหนทรัพยากรอันสำคัญนี้แก่เยาวชนในชุมชน

ไฮไลท์ของงานนี้อยู่ที่นี่จ๊ะ
พอเราเดินลัดเลาะตามเส้นทางเก๋ๆ ที่ได้ความรู้มากมายจากระยะทาง หนึ่งกิโลเมตรที่ผ่านมา เพื่อนๆพี่ๆมัคคุเทศน์เยาว์ชนคนเก่งของเรา จึงอยากให้เราได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าชายเลนจึงจัดให้เราได้ลงมือปฎิบัติ ปลูกป่าชายเลนกันจริงๆ จึงทำให้เราได้เข้าถึงธรรมชาติ ได้ทดสอบความรู้ที่ได้รับมา และได้เห็น สัตว์น้ำในระบบนิเวศน์ต่างๆมากมาย ได้ทั้งความรู้และความสนุก มาที่นี่คุ้มสุดคุ้มจริงๆครับ

ความรู้จากการอบรมสู่การนำเสนอ

ป่าโกงกาง(MangroveForest)

ปกติแล้วในภาษาอังกฤษเรียกป่าชายเลนว่า Mangrove Forest และ บางครั้งป่าชายเลนก็ถูกเรียกว่า Tide Forest ซึ่งมีความหมายว่า ป่าที่มีน้ำขึ้นน้ำลงนั่นเอง คำว่า “ป่า” ความหมายในเชิงนิเวศหมายถึง พื้นที่ที่พืชพรรณขึ้นกระจัดกระจายอยู่ ไม่ว่าพืชพรรณนั้นจะมีนิสัยเป็น อย่างไร พืชล้มลุก ไม้พุ่ม และ ไม้ต้น เฟิร์น หรือ ไลเคนส์
ขณะที่คำในภาษาไทย ที่เรียก “ป่าชายเลน” นับว่าเป็นการเลือกคำมาใช้ให้มีความหมายตรง และ ชัดเจนที่สุด เมื่อได้ยินแล้ว เราสามารถ จินตนาการ ไปกับความหมายได้อย่างถูกต้อง ถึงสภาพนิเวศของสังคมพืชที่ขึ้นอยู่ คือคำว่า “ชาย” ถ้าเขียนให้เต็มๆ และ ชัดเจนคือ ชายทะเล และคำว่า “เลน” หมายถึงพื้นที่ดินเลน นั่นเอง รวมเบ็ดเสร็จแล้ว นับได้ว่ามีความหมายสมบูรณ์ในตัวเองถึงแม้ว่าในบางครั้ง อาจจะมีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่น ตามที่คนท้องถิ่นรู้จัก และ เข้าไปใช้ประโยชน์ เช่นแทนที่จะเรียกว่าป่าชาเลน ชาวบ้าน และ คนทั่วไปอาจเรียกว่า ป่าโกงกาง เนื่องจากเป็นป่า ที่มีไม้โกงกางขึ้นเป็นไม้เด่น และ พบเห็นได้มากกว่าชนิดอื่นๆ บางบริเวณของป่าชายเลน อาจมีไม้อื่น ขึ้น เป็นไม้เด่นอยู่ด้วย จนสามารถเรียกไปตามชนิดไม้นั้นๆ เช่น ป่าแสม ป่าลำพู ป่าจาก และ ป่าโปร่งเป็นต้น
ต้นไม้กับทะเล
นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ที่มาจากประเทศที่ไม่มีพื้นที่ติดต่อกับทะเล และ ป่าชายเลน เมื่อได้เดินเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่ป่า ชายเลน หลายคนได้เห็นถึงความแปลกของ ต้นไม้ ว่า ทำไมจึงสามารถเจริญเติบโตขึ้นอยู่ได้ในน้ำทะเล ที่มีความเค็มสูง ลมพัดแรง และ มีไอเกลือจาก น้ำทะเล ทั้งหมดล้วนเป็นสาเหตุที่ค่อนข้างวิกฤตที่เกิดขึ้น ปกติแล้ว ในสภาวะที่วิกฤต เช่นนี้ พืชทั่วๆไปที่ไม่ใช่พืชทนเค็ม จะไม่สามารถเจริญ เติบโตอยู่ได้
ตามปกติ ป่าชายเลน เป็นป่าที่เกิดขึ้นเฉพาะในเขตร้อนชื้น หาพบได้ยากในเขตกึ่งร้อนชื้น ป่าชายเลนที่พบในเขตกึ่งร้อนชื้น มักมีลักษณะ เตี้ยแคระ อาจจะเรียกว่า “ป่าชายเลนแคระ” ก็ได้ พรรณพืชมีการปรับตัวเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการปรับตัวทางด้านสรีระวิทยาของพืชเอง ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบที่เกิดขึ้นตั้งแต่ระบบราก ขึ้นไปจนถึง ใบ ดอก และ ผล และการโปรยของเมล็ดด้ว

การสร้างรากพิเศษ
เพื่อยึดตรึงลำต้นให้ตั้งอยู่ได้ ในสภาวะที่เป็นดินเลน หรือ รากที่แช่น้ำจนไม่สามารถหายใจได้ ( มีปริมาณก๊าซออกซิเจนน้อย ) หรือ การป้องกันกระแสน้ำกัดเซาะ โคนต้น ด้วยเหตุดังกล่าว ทำให้รากของต้นไม้ในป่าชายเลนมีอยู่หลายลักษณะ ปรับตัวแตกต่างกันไป ตามชนิดของ พืช เช่น
รากค้ำยัน ส่วนใหญ่ เป็นรากที่แตกออกมาจากส่วนลำต้น มีลักษณะคล้ายสุ่ม ตัวอย่างพันธุ์ไม้ที่มีรากแบบนี้ เช่น โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ ถั่วขาว ถั่วดำ ประสักขาว และ ประสักแดง ฯลฯ
รากหายใจ เป็นรากขนาดเล็ก ที่แตกออกมาจากระบบรากหลัก อีกทอดหนึ่ง ปลายรากแทงจากพื้นดินสู่อากาศ เพื่อใช้แลกเปลี่ยนก๊าซ ชนิดของพืชที่มีรากแบบนี้ เช่น แสมขาว แสมดำ และ ลำพู ฯลฯ
รากแผ่น เป็นรากที่แผ่ตัวจนทำให้เกิดเป็นแผ่นกว้าง ปรับตัวเพื่อลดแรงปะทะของคลื่น ที่ซัดเข้ามาบริเวณโคนต้น พันธุ์ไม้ในป่าชายเลน ที่มีรากแบบนี้ ได้แก่ ตะบูนขาว ตะบูนดำ
รากแบบหัวเข่า เป็นรากที่มีลักษณะโค้งงอ คล้ายการงอของข้อศอก เป็นการปรับตัว เพื่อลดแรงปะทะของกระแสน้ำทะเล ที่ซัดเข้ามาบริเวณ โคนต้น ชนิดพันธุ์ไม้ ที่มีรากแบบนี้ได้แก่ ประสักแดง และ ประสักขาว
พูพอน เป็นการปรับตัว ของโคนต้นไม้ ที่มีลักษณะเป็นแผ่นกว้างโดยรอบโคนต้น ทั้งนี้ เพื่อลดแรงปะทะของคลื่น ที่ซัดเข้ามาบริเวณ โคนต้น พืชที่มีรากแบบนี้ คือ หงอนไก่ทะเล


นอกจากนี้ พืชในป่าชายเลน ยังมีการปรับตัวในส่วนต่างๆ แทบทุกส่วน ไม่ว่าการสร้างสารไขมันเคลือบแผ่นใบหนา และ มีปากใบ จมฝังลึก ลงไปในเนื้อใบ เพื่อป้องกันการคาย และ ระเหยของน้ำ , การโปรยเมล็ด ของไม้ต้น ในป่าโกงกาง ส่วนใหญ่จะมีการแตกรากตั้งแต่อยู่บนต้น จนถือกันว่า เป็นพืชที่มีผลแบบ ทวิชาติ ( แตกรากสองครั้งก่อนโตเป็นต้น ) เมื่อหล่นลงมา จาก เรือนยอด สามารถปักลงไปในดิน และ งอกเป็นต้น ทันที เพราะถ้าฝักที่ร่วงมาแล้วไม่ปักลงในดินเลน จะถูกกระแสน้ำพัดพาไปที่อื่น และ ไม่สามารถงอกได้ เนื่องจากไปตกอยู่ใน สภาพแวดล้อม ที่ไม่เหมาะสม
รายชื่อพรรณไม้ในป่าชายเลน
โกงกางใบเล็ก ถอบแถบน้ำ เป้งทะเล มะคะ ลำแพนหิน แสมทะเล โกงกางใบใหญ่ แดงน้ำ ถั่วขาว โปรงขาว มะพลับ เล็บมือนาง หงอนไก่ทะเล กระเพาะปลา ตะขบน้ำ ถั่วดำ โปรงแดง มังคะ สมอทะเล หงอนไก่ใบเล็ก ขลู่ ตะบัน เทพี ฝาดดอกขาว รักทะเล สักขี หยีทะเล แคทะเล
ตะบูนขาว น้ำนอง ฝาดดอกแดง รังกะแท้ สารภีทะเล หลาวชะโอน โคลงเคลงขน ตะบูนดำ เบญจมาศน้ำเค็ม พังกา-ถั่วขาว รามใหญ่ สำมะง่า หลุมพอทะเล จาก ตาตุ่มทะเล ใบพาย พังกาหัวสุมดอกแดง ลำเท็ง สีง้ำ หวายลิง จิกทะเล ตีนเป็ดทะเล ปรงทะเล พังกาหัวสุมดอกขาว
ลำพู เสม็ดขาว เหงือกปลาหมอเครือ จิกสวน ตีนเป็ดทราย ปรงหนู โพทะเล ลำพูทะเล แสมขาว เหงือกปลาหมอดอกม่วง ชะคราม เตยทะเล ปอทะเล โพรงนก ลำแพน แสมดำ

ความหลากหลายของพรรณไม้ในป่าชายเลน
ลักษณะของป่าชายเลน ที่สังเกตได้ง่ายๆ คือ ระบบรากของต้นไม้ แตกออกอย่างระเกะระกะ บริเวณโคนต้น ไม่ว่าจะเป็นสกุลโกงกาง ไม้สกุลประสัก ไม้สกุลโปรง และ สกุลรังกะแท้ ฯลฯ สำหรับไม้พุ่มนั้น มีอยู่บ้าง ที่พบอยู่บนพื้นป่า อาทิ ต้นเหงือกปลาหมอดอกม่วง ซึ่งเป็นไม้พุ่มที่มีขอบใบแข็ง และ มีหนามตลอดแนว

โกงกางใบเล็ก
หลายคนอาจจะไม่รู้จักไม้โกงกางเท่าใดนัก ถ้าพูดถึงการนำมาใช้เป็นประโยชน์แล้วละก็ ในอดีต เมื่อป่าชายเลนยังอุดมสมบูรณ์ ไม้โกงกาง เป็นไม้ที่นำมาผลิตเป็นถ่าน ที่มีคุณภาพสูง ให้ไฟที่มีความร้อนสูง ไม้โกงกางที่นิยมนำมาเผาถ่านในบ้านเรา ได้แก่โกงกางใบเล็ก และ โกงกางใบใหญ่ แต่ในที่นี้จะกล่าวถึง โกงกางใบเล็ก ซึ่งจะขึ้นอยู่ในดิน บริเวณที่ ค่อนข้างตื้นกว่าโกงกางใบใหญ่ บริเวณที่ต้นโกงกางใบเล็ก ขึ้น จะมีน้ำทะเลท่วมถึงสม่ำเสมอ โดยเฉพาะพื้นที่ที่ ติดทะเล ปากแม่น้ำลำคลอง พบขึ้นกระจายตามป่าชายเลนของประเทศไทย
จากการศึกษาของ ผู้เชี่ยวชาญ ด้านป่าชายเลน พบว่า ในภาคตะวันออก แถบจังหวัด จันทบุรี พบต้นโกงกาง ทั้งใบเล็ก และ ใบใหญ่ ในบริเวณเขตนอกสุด ที่ติดต่อกับริมฝั่งแม่น้ำ ส่วนในภาคใต้ ฝั่งอ่าวไทย ซึ่งประกอบไปด้วย จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ลงไปจนถึง จังหวัดปัตตานี จะพบโกงกางขึ้นอยู่ด้านนอกสุด ยกเว้นแถบจังหวัดชุมพร จะพบต้นโกงกางใบเล็ก ขึ้นอยู่ถัดจาก แสม และ ลำพู ซึ่งในฝั่งอันดามัน ต้นโกงกางใบเล็ก จะขึ้นอยู่ในบริเวณหลังแนวเขต ของไม้เบิกนำ ยกเว้นในจังหวัดกระบี่ จะพบต้นโกงกาง ขึ้นอยู่เป็นแนวแรก
โกงกางใบเล็ก เป็นไม้ไม่ผลัดใบขนาดกลาง – ใหญ่ อาจจะมีความสูงตั้งแต่ 20 -40 เมตร มีเปลือกชั้นนอกสีเทาดำ ผิวเปลือกเรียบ หรือแตก เป็นร่องเล็ก ตามความยาวของลำต้นเด่นชัด เรือนยอด รูปปิระมิด รอบๆ บริเวณโคนต้น มีรากค้ำจุน ทำหน้าที่พยุง ลำต้น และ มักมีรากอากาศ ซึ่งเกิดจากกิ่งตอนบน . ใบของโกงกางใบเล็ก เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับทิศทางกัน รูปรี หรือรูปขอบขนานแกม ปลายใบมีติ่งแหลม หูใบที่ปลายยอดมีสีชมพูอ่อน ถึงแดง ท้องใบมีจุดสีดำเล็กๆ กระจายอยู่เต็มท้องใบ , ดอก จะมีกลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลือง 4 กลีบ เว้าเข้า ด้านในแหลม กลีบดอกก็มี 4 กลีบ เช่นกัน
ผลของโกงกางใบเล็ก เป็นรูปชมพู่ ผิวหยาบ ยาว 2 – 3 ซม. มีสีน้ำตาล จะงอกตั้งแต่อยู่บนต้น เพื่อให้ต้นอ่อนสามารถตั้งตัวได้เร็ว เพราะบริเวณป่าชายเลน จะมีความผันแปรจาก กระแสน้ำขึ้น น้ำลง อยู่ตลอดเวลานั่นเอง ทำให้เมล็ดพืชต้องมีการปรับตัว เพื่อให้ตั้งตัวได้เร็วยิ่งขึ้น กว่าพืชบนบก นอกเหนือจากการนำมาเผาถ่านแล้ว ประโยชน์ของเนื้อไม้โกงกาง ยังมีอีกนานา ประการ เช่น การนำไปทำเสาเข็ม , คุณสมบัติของ เนื้อไม้โกงกางใบเล็ก สามารถนำมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ ได้ดีเช่นกัน อีกทั้งไม้โกงกางยังมีคุณสมบัติเป็นยาสมุนไพรด้วย นอกจาก ประโยชน์ทางตรงแล้ว ต้นโกงกางที่ขึ้นอยู่เป็นแถวเป็นแนวนั้น ยังสามารถ ช่วยชะลอความเร็วของลม และ ช่วยป้องกันการกัดเซาะบริเวณชายฝั่ง และ ปากแม่น้ำ ที่เกิดจากกระแสน้ำ ที่แปรเปลี่ยนตลอดเวลา ดังนั้น ในปัจจุบัน จึงมีการปลูกป่าชายเลน โดยใช้ต้นโกงกาง เพื่อการอนุรักษ์ชายฝั่งทะเล และ เพื่อเป็น แหล่งอนุบาลให้กับสัตว์น้ำต่างๆ ในป่าชายเลน อีกด้วย

ชนิดของสัตว์ป่าในป่าชายเลน
สัตว์ป่าที่พบในป่าชายเลน มีหลายกลุ่มหลายชนิด เช่นเดียวกับป่าชนิดอื่นในเขตร้อนชื้น สำหรับกลุ่มสัตว์ป่า ที่น่าสนใจ มีดังนี้
กลุ่มไพรเมต หรือ ลิง เคยมีสารคดีเกี่ยวกับลิงจมูกยาว ในป่าชายเลนของรัฐซาบาร์ บนเกาะบอร์เนียว ประเทศมาเลเซีย เป็นลิงที่มีถิ่นอาศัย และ หากินอยู่ในป่าชนิดนี้ จนเปรียบได้ว่า ลิงจมูกยาว คือ สัญลักษณ์ของป่าชายเลน และ ป่าดิบชื้นของเอเซีย ไปเลยทีเดียว ลิงชนิดนี้ มีรูปร่างสัณฐาน เหมือนกับลิงแสม แต่ลักษณะเด่นที่สำคัญในช่วงที่ลิงโตเต็มที่ คือ มีจมูกยื่นยาว ออกมา คล้ายงวง โดยมีชื่อในภาษาอังกฤษว่า Proboscis Monkey ถ้าแปลเป็นภาษาไทยก็คือ ” ลิงมีงวง ” ขณะที่ในบ้านเราไม่พบลิงชนิดนี้ แต่มีชนิดอื่น เช่น ลิงแสม ซึ่งเป็นลิงที่พบ อยู่ทั่วไปตามป่าชายเลน ลิงแสม เป็นลิงที่มีความซุกซนพอสมควร จนสร้างความเสียหาย และ สร้างปัญหาแก่ป่าปลูกในพื้นที่ป่าชายเลน ลิงแสม มักมีพฤติกรรมที่ชอบเข้าไป ถอนราก ของ กล้าโกงกางที่เริ่มปลูกใหม่ , สำหรับฝักโกงกาง ในป่าชายเลนธรรมชาติ เพื่อนำไปเตรียมปลูกนั้น ลิงแสม ได้นำเอาส่วนของกล้าไม้ และ ฝักโกงกางไปกินเป็นอาหาร จนไม่สามารถเก็บหา ฝักได้เพียงพอ ต่อการปลูกป่าในพื้นที่ ขนาดใหญ่
ค่าง เป็นสัตว์อีกกลุ่มที่พบได้ในป่าชายเลนบ้านเรา เช่น ค่างแว่นถิ่นใต้ ค่างชนิดนี้มีขนรอบดวงตา ลักษณะคล้ายแว่นตา เป็นที่มาของชื่อ เรียกดังกล่าว ปัจจุบัน ค่างแว่นถิ่นใต้ ที่พบใน ป่าชายเลน มีประชากรค่อนข้างน้อยมาก พบเห็นอยู่บ้าง ในบางพื้นที่ เช่น ป่าชายเลนในอุทยาน แห่งชาติ เขาสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ , ป่าชายเลนยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี นอกจากนี้ ยังมี ลิงลม หรือ นางอาย ที่สามารถพบได้ใน ป่าชายเลน บางแห่ง เช่นกันกลุ่มนก นับว่าเป็นสัตว์ป่ากลุ่มใหญ่ที่สุด ที่พบในป่าชายเลนบ้านเรา ในแต่ละท้องที่ มีจำนวนชนิดแตกต่างกัน ซึ่งพบทั้งนกประจำถิ่น และ นกอพยพที่อาศัยหากินอยู่ในป่า และ ที่อาศัยหากิน อยู่ในน้ำ ( นกน้ำ , นกชายเลน ) ดังเช่น บริเวณปากแม่น้ำกระบุรี จังหวัดระนอง พบนกไม่น้อย กว่า 50 ชนิด ( สผ. และ DANCED , 2542 ) , ปากแม่น้ำตรัง พบนกไม่น้อยกว่า 90 ชนิด ( สผ . และ DANCED , 2542 ) , ที่อ่าวพังงา พบนกไม่น้อย กว่า 88 ชนิด ( สผ. และ DANCED , 2542 ) , ปากน้ำกระบี่ พบนกไม่น้อยกว่า 221 ชนิด ( สผ . และ DANCED , 2542 ) เป็นต้น สำหรับชนิดนก ที่น่าสนใจ และ หาพบได้ยากในป่าชายเลน จนเป็นที่ต้องการพบเห็นอย่างยิ่งของนักดูนก ได้แก่ นกฟินฟุท , นกทะเลขาเขียวลายจุด , นกหัวโตมลายู เป็นต้น
ชนิดนกที่พบอยู่ทั่วไป ในป่าชายเลนจนถือได้ว่า เป็นสัญลักษณ์ของป่าชายเลนเลยทีเดียว คือ นกกินเปี้ยว เหยี่ยวแดง นกออก และ นกกระจ้อย ป่าโกงกาง ซึ่งถ้าพื้นที่ใดไม่พบเห็น หรือ พบเห็นได้น้อยนั้น เป็นลางบอกเหตุว่า ป่าชายเลนในบริเวณดังกล่าวกำลังเข้าสู่ภาวะวิกฤต ที่ทำให้ป่า ชายเลนเสื่อมโทรม หรือ หมดสภาพ
กลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นอกจากกลุ่มลิงแล้ว กลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น พบได้ค่อนข้างน้อยมาก ชนิดที่พบเห็นได้บ้าง แต่ไม่บ่อยนัก คือ เสือปลา พังพอนธรรมดา กระรอก ปลายหางดำ กระแต นากเล็บสั้น และ อีเห็นเครือ เป็นต้น แต่กลุ่มที่น่าสนใจอีกกลุ่มหนึ่งคือ ค้างคาว , ค้างคาว เป็นสัตว์ที่ช่วยในการผสมเกสร ให้กับไม้ป่าชายเลนบางชนิดด้วย สำหรับค้างคาว ขนาดใหญ่ ที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลนก็คือ ค้างคาวแม่ไก่เกาะ ปัจจุบันพบเห็นเฉพาะในป่าชายเลนบนหมู่เกาะต่างๆ เนื่องจากป่าบริเวณดังกล่าวถูกรบกวนน้อยกลุ่มสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และ สัตว์เลื้อยคลาน สถานะภาพของสัตว์ทั้งสองกลุ่มนี้ เป็นเช่นเดียวกันกับกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม คือ พบน้อยชนิด สำหรับชนิดที่สำคัญ และ พบได้บ่อยนั้น ในกลุ่มสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก คือ กบน้ำเค็ม ส่วนในกลุ่มสัตว์เลื้อยคลานได้แก่ เหี้ย งูพังกา งูปล้องทอง เป็นต้น
กลุ่มปลา นับว่าเป็นกลุ่มสัตว์อีกกลุ่มหนึ่ง ที่มนุษย์ต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง โดยจับมาเป็นอาหารหลายชนิด เช่น ปลากะพงขาว ปลากระบอก ปลาตาเหลือก และ ปลาดุกทะเล เป็นต้น

ส่วนในกลุ่มสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง มีการกล่าวถึง และ เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ค่อนข้างน้อย ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มกุ้ง กั้ง หอย ปลาหมึก ดอกไม้ทะเล เพรียง ไส้เดือนทะเล และ ปลิงทะเล เป็นต้น อย่างไรก็ดี ยังมีสัตว์อีกบางชนิด ที่พบเห็นในป่าชายเลนโดยทั่วไป จนบางครั้งอาจ นับได้ว่า สัตว์เหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ ของป่าชายเลน เลยทีเดียว ตัวอย่างเช่น

จอมหอบ หรือ บางครั้งเรียกว่า ” แม่หอบ ” ลักษณะสันฐานลำตัวของสัตว์ชนิดนี้ คล้ายกุ้งและกั้งรวมกัน อาศัยอยู่ในรูดินบริเวณป่าชายเลน มีชื่อสัตว์ศาสตร์ว่า Thalassina anomala เป็นสมาชิกของวงศ์ Thalassinidae มีชื่อสามัญว่า Mud Lobster ขนาดลำตัวยาว 5 – 10 ซม. ถึงแม้ว่า ตัวจะเล็ก แต่จอมหอบมีพฤติกรรมคล้ายนักขุดดินที่ทำงานหนัก ด้วยการ ขุดดิน ในป่า ชายเลน พลิกหน้าดินจากชั้นดินข้างล่าง ให้มากองอยู่ข้างบน จนกลายเป็นกองดินคล้ายจอมปลวก (กองดินสูงถึง 1 – 3 เมตร) ด้วยเหตุดังกล่าว ถ้าพื้นที่ใดมีจอมหอบมาก ตามพื้นป่าก็จะเป็น ตะปุ่มตะป่ำ คล้ายกับจอมปลวก ทำให้การไหลเวียน ของน้ำทะเล ท่วมไม่ถึงในพื้นป่า
แค่นั้นยังไม่พอ …. จอมหอบ ยังสร้างอุปสรรคต่อการเตรียมพื้นที่ปลูกป่าชายเลนด้วย โดยทำให้กล้าไม้ที่ปลูกตาย ทั้งนี้เนื่องจากน้ำทะเล ไม่สามารถท่วมถึง เพราะถูกปิดกั้นด้วยกองดิน จากการกระทำ ของ จอมหอบ
ถ้ามองในแง่ดี สำหรับจอมหอบ แล้ว มันมีบทบาทที่สำคัญอย่างหนึ่ง ในระบบนิเวศคือ การพลิกพื้น ชั้นหน้าดิน ของป่าชายเลนให้มีรูพรุน อากาศในดินเพิ่มขึ้น ตลอดจนเป็นการปรับหน้าดิน ให้เหมาะสม กับการเข้ายึดครองของไม้ป่าบก บางชนิด บนสันกองดินดังกล่าว เป็นที่มาของ การรุกคืบ ของ ป่าบก เข้าแทนที่ในพื้นที่ป่าชายเลน
ปูก้ามดาบ นับเป็นปูที่มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อระบบนิเวศชายฝั่ง และ ท้องทะเล เพราะปูในกลุ่มนี้ เป็นสัตว์ที่คอยเก็บสารอินทรีย์ขนาดเล็ก ซึ่งตกตะกอน อยู่บนหาดเลนกินเป็นอาหาร นอกจากนั้น นก และ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอีกหลายชนิด อาทิ ลิงแสม นกกินเปี้ยว นกยางทะเล และ นากใหญ่ จะจับปูเหล่านั้นกินอีกทอดหนึ่ง เกิดการถ่ายทอดสารอาหาร จากสิ่งมีชีวิต ขนาดเล็กที่สุด ต่อไปยังสัตว์กินเนื้อที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ สืบเนื่องจนกลายเป็นสายใย และ ห่วงโซ่อาหาร ของป่าชนิดนี้
ปูก้ามดาบ เป็นปูขนาดเล็ก และได้ถูกจำแนกอยู่ทั้งในสกุล Uca และสกุล Macrophthalmus ของวงศ์ Ocypodinae เป็นปูขนาดเล็ก ขุดรูอาศัย อยู่ในดินเลน หรือ ดินเลนปนทราย ในป่าชายเลนเรื่อยขึ้นไปจนถึงแนวเขต ที่ติดต่อกับป่าบก เมื่อน้ำขึ้นมันจะแฝงตัวแอบอยู่ในรู น้ำลดเมื่อใด ก็จะออกมาเดินหาอาหารกิน ความโดดเด่นของปูก้ามดาบ อยู่ที่ก้ามข้างหนึ่ง จะมีขนาดใหญ่มากกว่าอีกข้าง เพื่อใช้โบกพัด แสดงความเป็นเจ้าของ อาณาเขต
นอกจากนั้น ปูก้ามดาบ ส่วนใหญ่ จะมีสีสันฉูดฉาดสะดุดตา ทั้งแดง และ ส้ม โดยเฉพาะปูก้ามดาบชนิด Uca rosea ถือว่าเป็นชนิดที่มีสีสวยงาม ที่สุดในบ้านเรา ปูก้ามดาบ จะหากิน อยู่ไม่ไกล จากรูของมันมากนัก เพราะต้องการเก็บรักษาความชื้นไว้ในร่างกาย ดังนั้น มันจึงวิ่งลงรูเป็นระยะๆ เพื่อให้ได้ความชื้น และ แก้ปัญหาการ สูญเสียน้ำจากตัว ปูสกุลนี้ มีความ สามารถ เลือกกินเฉพาะสารอินทรีย์ แยกออกมาจากดินทรายได้ โดยใช้รยางค์ปากแบบพิเศษ ช่วยแยก และ คัดเลือกอาหารเข้าปาก ส่วนรยางค์บริเวณปาก ที่มีรูปร่างเป็นตะแกรงพู่ขนนก หรือ ช้อน ช่วยทำหน้าที่ ในการคัดเลือก เฉพาะอาหารที่มันกินได้เท่านั้น ตะกอนดินที่ปูไม่กิน ก็ทิ้งกลับลงสู่ทะเล ในรูปของก้อนดินกลมเล็กๆ
สกุลปูก้ามดาบ พบว่ามีหลายชนิดในประเทศไทย และ มีรายงานพบมากถึง 15 – 16 ชนิด แม้ว่าการจำแนกในบางระบบ อาจจัดจำแนกอยู่ใน สกุล Detuca และ สกุล Thalassuca แต่ทั้งหมด เรียกรวมๆว่า ปูก้ามดาบ มีชื่อสามัญว่า Fiddler Crab ปูก้ามดาบ มีบทบาทที่สำคัญต่อการ ตัดย่อย เศษอินทรีย์วัตถุตามพื้นป่าชายเลนให้เล็กลง และ ผ่านขบวนการหมุนเวียนธาตุอาหาร ของ พืชที่นำมาใช้ในการเจริญเติบโต พฤติกรรมที่น่าสนใจ ของ ปูก้ามดาบ ตัวผู้แต่ละตัวมีก้าม 1 คู่ และ ข้างหนึ่งมีขนาดใหญ่ มีสีสันสวยงาม แต่ละตัวมีสีก้ามที่แตกต่างกัน วันใดที่แสงแดดจ้า หลังน้ำลง บนหาดเลน และ หาดทราย ปูตัวผู้แต่ละตัว จะออกมาตากแดดเพื่ออวดก้าม และ หากินบริเวณโดยรอบรูของแต่ละตัว เป็นการประกาศอาณาเขต ที่อยู่ของตัวเอง พร้อมกันนั้น ยังเป็นการอวดก้าม แก่ปูตัวเมียด้วย นับว่าเป็นอาการที่ดูน่ารักอย่างยิ่ง แก่บุคคลที่พบเห็น แต่ลักษณะเด่นดังกล่าว ก็อาจเป็นผลร้ายแก่ตัวเองเช่นกัน เพราะทำให้นกที่อาศัยหากิน ในบริเวณดังกล่าว จับกินได้ง่าย ตลอดจนความสวยงาม และ น่ารักดังกล่าว เป็นเป้าหมายของคนที่ชอบจับมันมาขายเป็นปูสวยงาม
ปลาตีน เป็นปลากระดูกแข็งอยู่ในสกุล Periopthalmus และ สกุล Periophthalmodon สมาชิกวงศ์ย่อย Oxudercinae วงศ์ Gobiida ซึ่งในประเทศไทย เราพบปลาตีนในสกุล Periopthalmus จำนวน 6 ชนิด และสกุล Periopthalmodon อีกชนิดหนึ่ง คือ Periophthalmus schlosseri ( ปลาตีนใหญ่ ) รวมแล้วเป็น 7 ชนิด ชื่อเรียกโดยรวมของปลาตีน ในแต่ละท้องถิ่น จะแตกต่าง กันไป เช่น ปลาระจัง ปลาดีจัง ปลาจุมพรวด และ ปลาพรวด ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากปลาตีน เป็นปลาที่มีลักษณะสัณฐานวิทยา คล้ายปลามีปอด ที่พบในทวีปอัฟริกา
ปลาตีนแท้จริงแล้ว เป็นปลาที่ไม่มีตีนเพื่อเดินเหมือนมนุษย์เรา แต่มันสามารถใช้ครีบในการลื่นไถล และ กระโดดไปบนพื้นเลน หรือ ตามผิวหน้า ของพื้นน้ำได้ไกล การใช้ครีบคู่หน้า หรือ ครีบบริเวณอก ที่แข็งแรง สามารถคืบไปบน ผิวแลนได้ดี และ ครีบอกนี้ ยังใช้ยึดเกาะกับต้นโกงกาง หรือ แสม ได้อีกด้วย พฤติกรรมการบิดงอโคนหาง แล้วดีดออกเหมือน สปริง ที่ทำให้เคลื่อนไหว ไปข้างหน้า โดยการไถลบนผิวเลน ด้วยพฤติกรรมดังกล่าว จึงมีชื่อเรียกพื้นบ้านว่า ปลาจุมพรวด
ปลาตีน มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 5 – 30 ซม. ต่างกันไปตามชนิด ปกติแล้ว ปลาตีนตัวผู้ จะมีขนาดลำตัวใหญ่กว่า ปลาตีนตัวเมีย ข้างลำตัวแบน เล็กน้อย มีเกล็ดปกคลุมทั่วลำตัว โดยทั่วไป ออกสีเทา มีแถบสีน้ำตาลพาด บริเวณหัว และ ตามตัว มีจุดวาวๆ สีเขียวมรกต ปลายครีบหลัง สีขาวเหลือง สะท้อนแสง ทำให้มองเห็นเป็นทั้งสีน้ำตาล สีน้ำเงิน และ วาวเหมือนมุก
นิสัยของปลาตีนที่ชอบอาศัยและหากินตามดินเลน มักเป็นช่วงเวลาน้ำลง มากกว่าช่วงอื่น และ มักพบอาศัยอยู่บริเวณ ดินโคลนในป่าชายเลน หรือ หาดเลนที่เปิดโล่ง ริมร่องน้ำที่อยู่ตาม ขอบนอกของป่าชายเลน ได้มีการปรับตัวจนมีลักษณะสัณฐานต่างจากปลาอื่น คือ ชอบอาศัยบนผิวเลนมากกว่าการดำมุดอยู่ใต้น้ำ กระพุ้งแก้มที่ปิดเหงือก จะโป่งออกเพื่อให้อุ้มน้ำได้ดี เหมาะแก่การหายใจ ขณะอาศัยอยู่บน ผิวเลน มีลักษณะเด่นอีกอย่างคือ ลูกตาที่โป่งนูนอยู่บนหัว ทำให้มองเห็นเด่นชัด
อาหารที่ปลาตีนกิน จะเป็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆ เช่น ลูกกุ้ง ลูกปู ตัวอ่อนของสัตว์น้ำขนาดเล็ก รวมทั้งสาหร่าย แบคทีเรีย และ ซากสิ่งมีชีวิตที่อยู่บนผิวเลน
ปกติปลาตีน จะอาศัยอยู่รวมกันหลายตัว ไม่มีการออกนอกเขต ของตัวเอง เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ปลาตีนตัวผู้ จะมีสีเข้มขึ้น และ มีการแบ่งอาณาเขต ในช่วงการ สืบพันธุ์ โดยจะมีการสร้างหลุม ซึ่งมันจะใช้ปากขุดโคลนมากองบนปากหลุม เราเรียกว่า ” หลุมปลาตีน ” และ ปลาตีนตัวผู้ มีพฤติกรรมหวงเขต แดน เมื่อมีปลาตีนตัวผู้อื่นล้ำแดน เข้ามา โดยการกางครีบหลังขู่ และ เคลื่อนที่เข้าหาผู้รุกล้ำทันที ปลาตีนตัวผู้ และ ตัวเมีย จะผสมพันธุ์ในหลุม ที่ตัวผู้ขุดไว้
ปลาตีน ชอบขุดรูอยู่ตามป่าชายเลน และ บริเวณปากแม่น้ำ ใช้รูเป็นที่หลบซ่อนตัว มันจะคีบคลานหากินอินทรีย์วัตถุ และ สิ่งมีชีวิตเล็กๆ บนผิวดิน โดยจะคอยระวังภัยอยู่เสมอ . ปลาตีนพบ แพร่กระจายอยู่ในทะเลจีนใต้ ( ฝั่งอ่าวไทย ) และ บริเวณชายฝั่งอ่าวเบงกอล ( ทะเลอันดามัน )
ความหลากหลายชนิด ของ ปลาตีน ในประเทศไทยที่พบมี 7 ชนิด คือ
1. Periophthalmus chrysospilos พบฝั่งทะเลอันดามัน
2. P. gracilis พบฝั่งทะเลอันดามัน
3. P. malaccensis พบฝั่งทะเลอันดามัน
4. P. minutus พบฝั่งทะเลจีนใต้
5. P. novemradiatus พบฝั่งทะเลอันดามัน
6. P. walailakae ไม่แน่ใจว่าพบบริเวณใด แต่เท่าที่ทราบ พบว่าเป็นชนิดใหม่ที่พบได้เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น
7. Periophthalmodon schlosseri ( ปลาตีนใหญ่ ) พบฝั่งทะเลอันดามันหิ่งห้อย หิ่งห้อยจัดเป็นแมลงปีกแข็ง ที่มีลำตัวอ่อนและปีกอ่อน มีอวัยวะพิเศษที่ทำให้เกิดแสง สามารถกระพริบแสงระยิบระยับ สร้างบรรยากาศ แสงสียามค่ำคืน มีชื่อสามัญว่า Fire Fly หิ่งห้อย เป็นแมลงที่มีขนาดลำตัวยาวตั้งแต่ 5 – 25 มม. ลักษณะลำตัวเป็นรูปทรงกระบอก อวัยวะพิเศษ ที่สามารถปล่อยแสงได้ของมัน อยู่ที่ส่วนล่าง ตอนท้ายของลำตัว
ในเวลากลางวัน หิ่งห้อยหลบซ่อนตัวอยู่ตามพงหญ้า หรือ วัชพืชในพื้นที่ชื้นแฉะ หรือหลบอยู่ตามกาบใบไม้ ซอกใบไม้ต่างๆ ครั้นถึงเวลา กลางคืน จึงบินออกมาจับคู่ผสมพันธุ์ และ วางไข่ สำหรับแหล่งที่อยู่อาศัยนั้น ขึ้นอยู่กับชนิด หลายชนิดระยะที่เป็นตัวอ่อน จะอาศัยอยู่ทั้งในน้ำจืด และน้ำกร่อย บางชนิดขุดโพรงตื้นๆ อาศัยอยู่ใต้ดิน หรือ อาศัยอยู่ตามรอยแตกของหิน ใต้ใบไม้ ใบหญ้า ตามผักตบชวา ครั้นพัฒนาเป็นตัวเต็มวัย จะมีนิสัย ออกหากินในเวลากลางคืน และ ซ่อนตัวในเวลากลางวัน บางชนิดมีพฤติกรรมหากิน ทั้งกลางวัน และ กลางคืน
ส่วนใหญ่จะพบ หิ่งห้อย ตามสุมทุมพุ่มไม้ ในบริเวณที่เป็นพื้นที่ชุ่มชื้นใกล้หนองน้ำ ตามลำธารที่น้ำใสสะอาดค่อนข้างนิ่ง หรือ ไหลเอื่อย ในบริเวณที่เป็นป่าชายเลน ริมฝั่งทะเล โดยเฉพาะต้นลำพู ที่หิ่งห้อย มักชอบ เกาะแล้ว ยังมีต้นลำแพน แสมชนิดต่างๆ โกงกาง โพทะเล ฝาด สาคู และ เหงือกปลาหมอ ซึ่งนับว่ามีประโยชน์ต่อชาวประมง ในการสังเกตแนวชายฝั่ง ในเวลาเดินเรือยามค่ำคืน จากแสงสว่าง ของหิ่งห้อย ที่เรืองแสงเป็นจำนวนมาก เกาะอยู่ตามต้นไม้เป็นแนวยาวเลียบชายฝั่ง ทำให้ง่ายต่อการสังเกตเห็นจากระยะไกล
วงจรชีวิตของหิ่งห้อย มี 4 ระยะด้วยกัน คือ ระยะไข่ ระยะตัวอ่อน ระยะดักแด้ และ ตัวเต็มวัย20. หิ่งห้อย มีอวัยวะปล่อยแสงอยู่ที่ปล้องท้องด้านล่าง ส่วนปลายของลำตัว ตำแหน่งของอวัยวะปล่อยแสง แตกต่างกันไป ขึ้นกับเพศ และ ชนิด โดยทั่วไปเพศเมีย มีอวัยวะทำแสงปล้องเดียว ที่ส่วนท้องปล้องที่ 5 , เพศผู้ มีอวัยวะทำแสง 2 ปล้อง แสงของหิ่งห้อยมีสีเหลืองอมเขียว เย็นตา แต่ไม่มีความร้อน ความสว่างของแสงอยู่ระระหว่าง 1/50 ถึง 1/400 แรงเทียน
การเรืองแสงของหิ่งห้อย เกิดจาก สาร ลูซิเฟอริน ( Luciferin ) ที่มีอยู่ในอวัยวะปล่อยแสง สร้างขึ้นโดยผ่านขบวนการเมตาโบลิซึม ภายในตัวแมงเอง มี เอนไซม์ ลูซิเฟอเรส เป็นตัวกระตุ้น และ อาศัยพลังงานเอทีพี ( ATP adenosine triphosphate ) และ เกลือแมกนีเซียมต่างๆ ในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีเป็นแสงเรือง หิ่งห้อยตัวเต็มวัย จะกะพริบแสงได้เต็มที่ ในขณะที่ ตัวอ่อนของหิ่งห้อย ส่วนใหญ่ ไม่กะพริบแสง แต่จะเรืองแสงได้ตลอดเวลา หิ่งห้อยกระพริบแสง มีจุดหมาย เพื่อให้แสงเป็นสื่อสร้างความสนใจในการผสมพันธุ์ ทั้งนี้หิ่งห้อย แต่ละชนิด จะมี ลักษณะของการกระพริบแสง และ ความเข้มของสี ตลอดจนจำนวนครั้ง ความถี่ และ ความยาวของช่วงเวลาในการกะพริบแสง แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของหิ่งห้อย และ สามารถรับรู้ สัญญาณเฉพาะ ของการกะพริบแสงในเพศตรงข้ามชนิดเดียวกัน เท่านั้น
สำหรับประโยชน์ของหิ่งห้อย พบว่า หิ่งห้อย เป็นตัวบ่งชี้ถึงความสมบูรณ์ หรือ เสื่อมโทรมของระบบนิเวศ และ สภาวะแวดล้อมในพื้นที่เฉพาะแห่ง ได้ หิ่งห้อย ยังเป็นศัตรูธรรมชาติ ของ หอยทาก เพราะหิ่งห้อยในระยะที่เป็นตัวหนอน จะกินหอยเล็กๆเป็นอาหาร ทั้งนี้เนื่องจาก หอยบางชนิด ที่ถูกตัวอ่อนหิ่งห้อยทำลายนั้น เป็นพาหะตัวกลาง ( intermediate hosts ) ซึ่งเป็นพาหะ นำโรคมาสู่คน และ สัตว์ได้ เนื่องจากมีไข่พยาธิ หรือ ตัวอ่อน ฝังอยู่ในเนื้อหอย เมื่อมนุษย์จับหอยมากินเป็นอาหาร อาจทำให้เกิดโรคบางชนิดได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคพยาธิใบไม้ในลำไส้ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคพยาธิใบไม้ในตับ ฯลฯ
ฉะนั้นถ้ามีประชากรหิ่งห้อยมากๆ ก็นับว่าเป็นการควบคุมพาหะของโรคดังกล่าวได้เช่นกัน และในงานศึกษาวิจัยทาง พันธุวิศวกรรมศาสตร นั้น สามารถใช้สารลูซิเฟอริน ที่สกัดได้จากอวัยวะปล่อยแสงของหิ่งห้อย เป็นสีย้อมแถบดีเอ็นเอ เมื่อส่องดูในที่มืด ( DNA Marker ) เพื่อตรวจสอบการเรืองแสงของยีนว่า ผลการตัดต่อ ประสบผลสำเร็จหรือไม่

แหล่งป่าชายเลนที่สำคัญ
ภาคตะวันออก
คือพื้นที่ในโครงการพระราชดำริ ที่อ่าวคุ้งกระเบน ที่นี่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเข้าไปท่องเที่ยว และ ศึกษาหาความรู้ เพราะที่นี่ถูกรังสรรค์ขึ้นเพื่อการนี้โดยเฉพาะ และ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับ เป็นที่ศึกษาหาความรู้สำหรับนักเรียน นักศึกษา
ป่าชายเลนในจังหวัดตราด หรือ ป่าชายเลนปากน้ำเชี่ยว
อยู่ในหมู่บ้านปากคลองน้ำเชี่ยว ตำบลหนองโสน อำเภอเมือง จังหวัดตราด ที่นี่มีโครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าชายเลน , ป่าท่าตะเภา และ ป่าเลนน้ำเชี่ยว อยู่ใกล้ๆโรงเรียน บ้านปากคลองน้ำเชี่ยว ที่นี่มีพรรณไม้ป่าชายเลน หลายชนิดปรากฏอยู่ มีทางเดินศึกษาธรรมชาติ มีป้ายสื่อความหมาย บอกชื่อพรรณไม้ อยู่ทั้งสองข้างทาง ทางเดินไปสุดที่ปากคลอง ซึ่งบรรจบกับ ทะเล มีที่นั่งพักผ่อน ท่ามกลางสายลมเย็น และ ท่ามกลางดอกไม้ที่งดงาม มีอาหารธรรมชาติสดๆจากทะเลให้ชิม ที่นี่ในอนาคต จะมีการสร้าง บ้านพัก ไว้ให้นักท่องเที่ยวพัก มีเรือคายักไว้ให้เช่า พายเล่นศึกษาธรรมชาติในป่าโกงกาง สำหรับนักดูนก ที่นี่เป็นแหล่งดูนกกินปลีคอสีทองแดง , นกกินปลีคอสีม่วง ที่ดีมาก แห่งหนึ่ง
ภาคกลาง
• จังหวัดสมุทรสาคร ที่ดอนหอยหลอด ซึ่งเป็นสันดอนปากน้ำแม่กลอง เกิดจากการตกตะกอนของดินเลนปนทราย ( ชาวบ้าน และ วงการก่อสร้างใช้ในการถมที่ เรียกว่า ทรายขี้เป็ด ) มีอาณาบริเวณกว้างประมาณ 3 กิโลเมตร ยาว 5 กิโลเมตร มี 2 แห่ง คือ ดอนนอก อยู่ในบริเวณปากอ่าวแม่กลอง เดินทางไปได้โดย ทางเรือ ส่วน ดอนใน อยู่ที่ชายหาดหมู่บ้าน ฉู่ฉี่ ตำบลบางจะเกร็ง และ ที่ชายหาดหมู่บ้านบางบ่อ ตำบลบางแก้ว สามารถเดินทางไปได้ โดยทาง รถยนต์ บริเวณสันดอนนี้มีหอยอาศัยอยู่หลายชนิด เช่น หอยลาย หอยปุก หอยปากเป็ด หอยแครง และ โดยเฉพาะหอยหลอดมีอยู่มากที่สุด
หอยหลอด เป็นหอยสองฝา ตัวมีสีขาวขุ่น มีเปลือกคล้ายหลอดกาแฟ ฝังตัวอยู่ในทราย การจับหอยหลอด จะใช้ไม้เล็กๆขนาด ก้านธูป จุ่มปูนขาวแล้วแทงลงไปในรูหอยหลอด หอยจะเมาปูน แล้วโผล่ขึ้นมาให้จับ ดอนหอยหลอดนี้ ในเวลาน้ำมากจะถูกน้ำท่วม และ ในช่วงเวลาน้ำน้อย ขณะน้ำลง จะสามารถเดินลงไปเที่ยวชมทัศนียภาพได้ ช่วงเวลาที่เหมาะสม ในการเที่ยว ดอนหอยหลอด คือ ช่วงเดือน มีนาคม – พฤษภาคม ของทุกปี และ ไปนั่งเรือดูหิ่งห้อย บน ต้นลำพู ที่บ้านท่าคา และ บ้านปลายโพงพาง ตำบลท่าคา อำเภออัมพวา
จังหวัดเพชรบุรี มีป่าชายเลนที่ เกาะท่าไทร ตั้งอยู่ที่หมู่ 6 ตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 1,500 ไร่ ล้อมรอบด้วยลำคลองท่าไทร และคลองบางเกตุ มีสะพานทางเดินเท้า ยาวประมาณ 1,700 เมตร มีจุดชมวิวทิวทัศน์ ของ ป่าชายเลน โดยมีทางเดินชมป่า และ ระบบนิเวศป่าชายเลนอันสวยงาม และ มีนกชายเลนให้ดูหลายชนิด ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับ พื้นที่ป่า ชายเลน ที่ วนอุทยานปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ภาคใต้
จังหวัดชุมพร มีป่าชายเลนที่สมบูรณ์บริเวณ ตำบลท่ายาง อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร และ ป่าชายเลน ที่อ่าวสวี – อ่าวทุ่งคา อันเป็นพื้นที่อ่าวกว้าง ของ ชายฝั่งทะเล ที่เกิดจากการ ทับถมของดินตะกอน จนเกิดเป็นป่าชายเลน บริเวณกว้างประมาณ 17.6 ตารางกิโลเมตร บริเวณนี้มีนกไม่ต่ำกว่า 100 ชนิด

จังหวัดระนอง มีป่าชายเลน ที่บริเวณศูนย์วิจัยป่าชายเลน อันเป็นเขตชีวมณฑล ที่เป็นพื้นที่ป่าชายเลนแห่งเดียวของประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ ตำบลหงาว อำเภอเมือง หรืออีกแห่ง เป็นป่าชายเลน โบราณ ที่มีไม้โกงกางขนาดใหญ่ อายุนับร้อยปีแห่งเดียวของประเทศไทย ตั้งอยู่บนเกาะเล็กๆ ในพื้นที่ อุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะพยาม และ ป่าชายเลนที่สมบูรณ์ ที่เป็นแนวเขตแดนระหว่าง ไทย กับ เมียนม่าห์ บริเวณปากแม่น้ำกระบุรี ในเขตอุทยานแห่งชาติกระบุรี นอกจากนี้ มีป่าชายเลนที่สวยงาม บริเวณ ปากแม่น้ำกะเปอร์

จังหวัดพังงา นับว่าเป็นจังหวัด ที่มีพื้นที่ป่าชายเลนมากที่สุดของประเทศไทย พื้นที่ที่น่าสนใจ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา มีพื้นที่ป่าชายเลนมากถึง 211.8 ตารางกิโลเมตร เป็นป่าชายเลนที่สมบูรณ์ และ เป็นแหล่งดูนกที่สำคัญ พบนกไม่น้อยกว่า 88 ชนิด ปัจจุบันนับว่า สถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้ เป็นป่าชายเลนที่มีนักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวชม มากที่สุด ของประเทศ เนื่องจาก เป็นพื้นที่ที่มีการคมนาคมใกล้กับจังหวัดภูเก็ต อันเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของภาคใต้• จังหวัดสุราษฎร์ธานี บริเวณอ่าวบ้านตอน เป็นป่าชายเลนบริเวณปากแม่น้ำตาปี บริเวณนี้นับว่าเป็นป่าชายเลนผืนกว้างที่สุด ของ ชายฝั่งอ่าวไทย และ ยังพบในบริเวณพื้นที่ ของ อุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะอ่างทอง
จังหวัดนครศรีธรรมราช บริเวณอ่าวปากพนัง เป็นป่าชายเลน มีเนื้อที่กว้างถึง 69 .8 ตารางกิโลเมตร บางส่วนถูกบุกรุกกลายเป็น นากุ้ง และ นากุ้งร้าง• จังหวัดกระบี่ บริเวณปากแม่น้ำกระบี่ เป็นบริเวณที่มีลำคลองหลายสายไหลลงสู่ทะเล จนเกิดเป็นพื้นที่ป่าชายเลนกว้างถึง 102.12 ตารางกิโลเมตร เป็นแหล่งดูนกอพยพที่สำคัญ ของ ภาคใต้ โดยพบนกในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 221 ชนิด
จังหวัดตรัง บริเวณปากแม่น้ำตรัง ที่ไหลลงสู่ทะเล บริเวณอำเภอกันตัง เป็นพื้นที่ที่มีป่าชายเลน ครอบคลุมเป็นบริเวณกว้าง ถึง 3 .85 ตารางกิโลเมตร ในบริเวณนี้ พบนกชนิดต่างๆ ไม่น้อยกว่า 90 ชนิด และ บริเวณปากแม่น้ำปะเหลียน และ คลองสุโสะ ตั้งอยู่บริเวณอำเภอ ปะเหลียน จังหวัดตรัง และ อำเภอละงู จังหวัดสตูล มีสภาพเป็นป่าชายเลน ที่ขึ้นทดแทน มีลักษณะ ค่อนข้างสมบูรณ์ หลังจากที่ผ่านการ ทำไม้มาแล้ว
นอกจากพื้นที่ดังกล่าว ที่ได้กล่าวถึงแล้ว ยังพบป่าชายเลนในเขต อุทยานแห่งชาติทางทะเล หลายแห่ง ทั้งที่เป็นป่าชายเลนสมบูรณ์ หรือ ป่าฟื้นตัว ไม่ว่าอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม , อุทยาน ฯ ตะรุเตา , หมู่เกาะสิมิลัน , แหลมสน , หาดนพรัตน์ธารา , หมู่เกาะพีพี เป็นต้น หรือ อยู่ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่า เช่น เขตห้ามล่าสัตว์ป่า หมู่เกาะลิบง ฯลฯ


ปัญหาที่เกิดขึ้นกับป่าชายเลน
การใช้ประโยชน์ที่มากเกินไป การบุกรุกป่าชายเลนเพื่อหาผลผลิตจากป่าโดยตรงจนเกินขีดความสามารถของป่า
การแปรสภาพป่าชายเลน เช่นการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ทำบ่อปลา ที่อยู่อาศัย
ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ นอกจากจะทำให้เกิดผลกระทบต่อพืชและสัตว์
ระบบนิเวศน์บริเวณป่าชายเลยทั้งสิ้น..แล้วเราจะแก้ปัญหาอย่างไรดีคะ
แนวทางการแก้ไขปัญหา

1. เพื่อเป็นการหยุดยั้งการแผ่ขยายการทำลายป่าชายเลน จึงควรที่จะห้าม
กิจกรรมใด ๆ ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนสภาพป่าชายเลนได้
2. การตอบสนองความต้องการใด ๆ ของมนุษย์ จะต้องเป็นไปโดยไม่ทำให้
ส่งผลเสียหายต่อพืชและสัตว์ในเขตอนุรักษ์
3. ป่าชายเลนควรจะได้รับการจัดการในรูปแบบ
ของการจัดการทรัพยากรที่เกิดทดแทนได้ เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ทั้งทาง
ตรงและทางอ้อม ตลอดจนการให้บริการทางด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ได้อย่าง
ต่อเนื่องและยาวนาน
4. ควรจะถือว่าป่าชายเลนเป็นส่วนหนึ่งของเขตชาย
ฝั่งทะเล โดยไม่มีการแบ่งแยกการพิจารณาเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ป่าชาย
เลน จะต้องคำนึงถึงลักษณะการพึ่งพอของป่าชายเลนที่ขึ้นอยู่กับการใช้ที่ดิน
เพื่อการเก็บกักน้ำ และลักษณะความสัมพันธ์ที่สำคัญระหว่างป่าชายเลนกับ
ผืนน้ำชายฝั่งที่อยู่ติดกัน
5. ควรจะมีการจัดทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
สำหรับโครงการที่อยู่ในป่าชายเลนหรือที่อยู่ติดกับป่าชายเลน โดยถือว่า
ระบบนิเวศป่าชายเลนนั้นเปลี่ยนแปลงได้ง่าย และควรจะเน้นถึงความสำคัญ
ของกระบวนการภายนอกที่เกี่ยวข้องกัลแหล่งน้ำจืดและน้ำเค้ม และการผลิต
สารอาหาร
6. ควรจะมีการปรับปรุงฐานข้อมูลป่าชายเลน และ
แผนชาติเกี่ยวกับป่าชายเลนให้ทันสมัยอยู่เสมอ
7. รณรงค์ให้ประชาชนและผู้บกรุกป่าชายเลนเข้า
ใจถึงความสำคัญของป่าชายเลน และให้ความร่วมมือในการอนุรักษ์ป่าชาย
เลน
8. ชดเชยพื้นที่ป่าชายเลนที่สูญเสียไปโดยการปลูก
ทดแทนขึ้นม

ประโยชน์ที่ได้รับจากการท่องเที่ยว
เนื่องจาก ประโยชน์ที่ได้รับนั้นขึ้นอยู่กับตัวเยาวชนรุ่นใหม่ที่กำลังจะเติบโตกลายเป็นผู้ใหญ่ภายในวันข้างหน้า ดังนั้นเราจึงนำประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับตัวผู้ทำกิจกรรมมาใช้นั่นคือ

1. เราได้ตระหนักและเกิดจิตสำนึกต่อการอนุรักษ์ป่าชายเลนในท้องถิ่น

2. เรารักและหวงแหนทรัพยากรในท้องถิ่นของตนเอง

3. เราได้รู้ถึงประโยชน์ของป่าชายเลนที่มีอยู่

4. เราได้ลงมือปลูกป่าจริงๆและรู้สึกหวงแหนกับป่าชายเลนที่เราได้ปลูกขึ้นมาเอง

5. เรามีความสามัคคีกัน และสามารถทำงานเป็นกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6. เป็นการทำประโยชน์ให้กับสังคมส่วนรวมในระยะยาวต่อไป

7. เราสามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีประสิทธิภาพ เป็นกำลังของชาติต่อไป

การเดินทาง
การเดินทางมาท่องเที่ยวสะดวกสบายเพียง 30 กม.จาก อ.หัวหิน พื้นที่เชื่อมต่อกับวนอุทยานปราณบุรี (Connect Area Zone) เป็นส่วนเชื่อมต่อทำให้เกิดการท่องเที่ยวบริเวณแม่น้ำปราณบุรี ระหว่างวนอุทยานปราณบุรี แม่น้ำปราณบุรี และแปลงปลูกป่า FPT 29 และ FPT29/3 ซึ่งประกอบด้วย
ท่าจอดเรือ เพื่อรับผู้เยี่ยมชมที่มาจากทางน้ำ จากวนอุทยานปราณบุรีและแม่น้ำปราณบุรี
Green Shutter เพื่อขนส่งผู้เยี่ยมชมไป –กลับระหว่างท่าจอดเรือและศูนย์สิรินาถราชินี โดยจะเป็น shutter ที่ใช้พลังงานจาก NGV หรือไฟฟ้าเท่านั้น
สถานที่พัก

ก็หาได้ง่าย สะอาด สวย เหมาะแก่การพักผ่อนปลอดโปร่งโล่งสบายอุราเหมาะทั้งผู้ที่มาศึกษาหาความรู้เปงกลุ่ม คู่ เดี่ยว หรือใหญ่หน่อยก็คณะค่ะ อ่ะอ่ะและที่ต้องเน้นคือ คู่รักที่อยากพากันมาปลูกป่าชายเลน เปลี่ยนบรรยากาศมาคลุกโคลนรักษาธรรมชาติใต้ต้นโกงกางก็ยังมีที่พักแบบสวีทค่ะ เพราะน้องอ้อนและเพื่อนๆได้สำรวจมาแล้วค่ะ ทั้งในเน็ตและระหว่างทางที่สัญจรมาค่ะ ว่าใกล้กับ อ หัวหินเพียง30กิโลเท่านั้น จึงสะดวดสะบายมากๆค่ะ เพราะได้มีสถานที่พักมากมายหลายรูปแบบคอยบริการนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ให้ได้รับการพักผ่อนตามความต้องการอย่างสาสมเลยทีเดียว
ร้านอาหาร
เนื่องจากศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศน์ป่าชายเลนสิรินาถราชินี อยู่ไกลจากอำเภอ เมือง หัวหินเพียง 30 กิโล จึงมีร้านอาหารหลายหลาก ไว้รับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ที่เดินทางมาพักผ่อน และหาความรู้เพื่อการศึกษาอย่างเรา เราจึงได้รับประทานอาหารที่อร่อยและสะดวกสบาย ตลอดการเรียนรู้ที่ ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศน์ป่าชายเลนสิรินาถราชินี เช่น

ตลาดโต้รุ่งหัวหิน

ตลาดโต้รุ่งหัวหินอยู่บริเวณถนนเดชานุชิต ตัดกับถนนเพชรเกษม หลายคนคงจะรู้จัก และคุ้นเคยเป็นอย่างดี เพราะไม่ว่าใครที่เคยมาหัวหิน ก็คงจะพลาดไม่ได้ที่จะต้องมาเดิน จับจ่ายซื้อของ หรือหาอาหารอร่อยๆ จากที่นี่รับประทานกัน

บ้านใกล้วัง หัวหิน (Bann Khrai Wang Coffee Shop)

ร้านกาแฟบรรยากาศริมทะเล ร้านเล็กๆ น่ารัก โรแมนติก ชนิดว่าคนกรุงเทพฯแห่กันมากิน อยู่ติดทะเลชื่อ “บ้านใกล้วัง” ขึ้นชื่อกับชาเอิร์ลเกรย์ คู่กับเค้กมะพร้าวแสนโด่งดัง และด้วยรสชาติของเค้กนุ่มๆ น่ากินๆ พร้อมเครื่องดื่มและของว่างอีกมากมาย ในบรรยกากาศทะเลเย็นวิวสวยริมหาดหัวหิน เป็นเค้กโฮมเมดครับ ร้านเป็นบ้านไม้สองชั้นใต้ถุนทำเป็นร้าน ร่มรื่นด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ มีโต๊ะนั่งซัก 10 กว่าโต๊ะ แต่โรแมนติกมาก

ร้านอยู่เย็น หัวหิน บัลโคนี่

บรรยากาศเย็นสบายริมทะเลหัวหิน “อยู่เย็น หัวหิน บัคโคนี่” เป็นร้านอาหารไทยริมทะเล ของบ้านอยู่เย็น อดีตบ้านตากอากาศของตระกูลโชติกเสถียร บ้านไม้เก่าแก่รูปแบบ คลาสสิกที่สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2463 ละครดังอย่างก็เคยมาใช้บ้านหลังนี้เป็นสถานที่ถ่ายทำ ปรับปรุงพื้นที่ด้านข้าง และสนามหญ้าด้านหน้า ไว้สำหรับจัดวางโต๊ะอาหาร ให้ลูกค้าเก็บเกี่ยวภาพทะเลหัวหิน แบบพาโนรามาเต็มๆ ตา

ส้มตำถนนตก หัวหิน

เป็นร้านอาหารระดับตำนาน ที่คนหัวหินแนะนำกันมานาน ทุกวันนี้ก็ยังอร่อยไม่เสื่อมคลาย “ร้านส้มตำถนนตก” ร้านตั้งอยู่สุดซอย ของถนนแนบเคหาสน์ และติดกับถนนตก ของหัวหิน ขายอาหารอีสานรสเด็ดอย่างที่เราคุ้นเคย ไม่ว่าจะเป็นส้มตำ ลาบ น้ำตก ฯลฯ อยากได้แบบไหน เพิ่มเติมบอกแม่ค้าได้แบบเป็นกันเอง สามารถสั่ง เปรี้ยว เค็ม เผ็ด ได้ตามใจชอบ คิวยาวครับระมัดระวังเรื่องเวลา prime time หน่อนนะจ๊ะ





กระผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงาน ที่ผมได้นำเสนอนี้ จะให้ความรู้ และสร้างความรัก ความหวงแหน ในทรัพยากรธรรมชาติชายฝั่ง ได้ไม่มากก็น้อยและสนุกสนานกับความรู้ที่พวกผมตั้งใจนำเสนอ เหมือนกับที่พวกผม ได้ตั้งใจทำรายงานด้วยความรู้สึกภาคภูมิใจ ที่เราเป็นนักศึกษาได้เป็นส่วนหนึ่งของการรักษา สิ่งแวดล้อมบนโลกใบนี้ ให้สวยงามน่าอยู่ตลอดไป ขอบคุณมากครับ

วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

395 ปี บันทึกของปินโต : หลักฐานประวัติศาสตร์นิพนธ์หรือนิยายผจญภัย

395 ปี บันทึกของปินโต : หลักฐานประวัติศาสตร์นิพนธ์หรือนิยายผจญภัย
บทคัดย่อ
บันทึกความทรงจำของแฟร์เนา เมนเดซ ปินโต( Fernão Mendez Pinto ค.ศ.1509-1583) เรื่อง “Pérégrinação”ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในปีค.ศ.1614 เป็นเรื่องเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และเหตุการณ์บ้านเมืองต่างๆ รวมทั้งอัตชีวประวัติของเขาอย่างน่าตื่นเต้นและเหลือเชื่อ จนมีการใช้ชื่อของปินโตเล่นคำเชิงล้อเลียนว่าพูดจริงหรือเท็จอย่างสนุกสนานโดยชนชาติศัตรูของโปรตุเกสในยุโรปหรือแม้แต่ชาวโปรตุเกสบางคน บันทึกของปินโตถูกอ้างอิงจากนักประวัติศาสตร์ไทยอย่างกว้างขวางนับตั้งแต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพมาจนปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงบทบาทของทหารรักษาพระองค์ชาวโปรตุเกส และการพระราชทานที่ดินให้พวกเขาตั้งถิ่นฐานและปฏิบัติศาสนพิธีในสมัยอยุธยา จึงเป็นที่มาของการตรวจสอบว่าหนังสือฉบับนี้มีสถานะเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์นิพนธ์หรือเป็นเพียงนิยายผจญภัย
หลักฐานของปินโตกับปัญหาในการศึกษาชุมชนโปรตุเกสสมัยอยุธยา
หากนักเรียนประวัติศาสตร์คนใดจะนำงานเขียนของปินโตมาใช้ในการตรวจสอบเรื่องราวเกี่ยวกับตำแหน่งหัวหน้าค่ายโปรตุเกส ความสัมพันธ์ของคนภายในค่าย ความสัมพันธ์ระหว่างค่ายโปรตุเกสกับราชสำนักอยุธยา ความสัมพันธ์ระหว่างค่ายโปรตุเกสกับมะละกา กัว มาเก๊า และราชอาณาจักรโปรตุเกส รวมไปถึงอาชีพ จำนวนคนและความเป็นอยู่ในค่ายโปรตุเกสสมัยอยุธยา ก็อาจจะต้องใช้ความพยายามในการศึกษาและวิเคราะห์หลักฐานชิ้นนี้มากพอสมควร ปินโตระบุว่านักสอนศาสนาก็จำเป็นต้องเผยแพร่ศาสนาภายใต้นโยบายของราชสำนักหรือผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสแห่งเมืองกัวเช่นเดียวกับข้าราชการทั่วไป เมื่อนักบุญฟรานซิส ซาเวียร์(St. Francis Xavier)จะออกไปเผยแพร่ศาสนาในญี่ปุ่น ท่านก็ต้องเดินทางจากมะละกาไปยังกัว เพื่อรับฟังนโยบายของผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสแห่งอินเดียเสียก่อน (กรมศิลปากร, 2526 : 35) การที่ปินโตเคยเป็นทูตของข้าหลวงโปรตุเกสแห่งมะละกาไปยังรัฐต่างๆในภูมิภาคแถบนี้ อีกทั้งยังเคยเป็นทหารและนักสอนศาสนาของโปรตุเกสด้วย เขาจึงน่าจะเป็นบุคคลที่มีเกียรติพอที่จะได้รับความเชื่อถือจากผู้มีฐานะเป็นศัตรูชาติโปรตุเกสในยุโรปหรือแม้แต่ชาวโปรตุเกสบางคน แต่เขาก็ไม่เคยถูกนักประวัติศาสตร์โปรตุเกส อาทิ ดูอาร์ตึ บาร์บูซา(Duarte Barbosa) จูอาว ดึ บารอส(João de Baros )และคาสปาร์ คอร์รีอา(Caspar Correa)เสียดสีเลยแม้แต่น้อย
การกล่าวว่ากองทัพพม่านำกระบือและแรดมาลากปืนใหญ่เพื่อทำสงครามกับสยามในฉบับแปลของโคแกน ทำให้วูด(Wood)ชี้ว่างานเขียนของปินโต “เป็นหลักฐานเชิงจินตนาการ” ข้อเสนอของวูดอาจทำให้นักเรียนประวัติศาสตร์เห็นคล้อยไปกับคอนเกรฟที่ระบุว่า ปินโตเป็นคนขี้ปด โชคดีที่ ดร. เจากิง ดึ กัมปุชแย้งว่า ปินโตไม่เคยระบุคำว่า “แรด” ในงานเขียน คำศัพท์ที่เขาใช้ คือ คำว่า “bada หรือ abada”นั้น ในคริสต์ศตวรรษที่16 หมายถึง สัตว์ป่า หรือ สัตว์เลี้ยงที่กลายเป็นสัตว์ป่า แม้ว่าจะมีนักเขียนบางคน เช่น บาทหลวง กาสปาร์ ดึ ครูซ (Fr. Gaspar de Cruz) จะใช้คำดังกล่าวเรียกแรดก็ตาม ส่วนบาร์โบซา (Duarte Barbosa) จูอาว ดึ บารอส (João de Baros ) และ คาสปาร์ คอร์รีอา (Caspar Correa) ต่างก็ใช้คำว่า “ganda” ซึ่งมาจากรากศัพท์ภาษาสันสกฤตเมื่อกล่าวถึงแรด ขณะที่นักรวบรวมพจนานุกรม ชื่อ บลูโต (Bluteau, 1727) แปลคำว่า “abada คือ สัตว์ป่าชนิดหนึ่ง” ซึ่งถือเป็นหลักฐานสำคัญในการโต้แย้งประเด็นที่มีการแปล “abada” ว่า “แรด” (Campos, 1959 : 228) แม้ในภาษามาเลย์จะมีคำว่า “badâk” แปลว่า “แรด” แต่ในภาษาอาหรับก็มีคำว่า “abadat” หมายถึง “สัตว์ที่มีรูปร่างเป็นสีน้ำตาล” หรือ “สัตว์ป่า” หรือ “สัตว์เลี้ยงที่หลบหนีไปจนกลายเป็นสัตว์ป่า” ดึ กัมปุช ระบุว่า คำว่า “abada” ถูกแปลว่า “แรด” ในคริสต์ศตวรรษที่17 ดังนั้น “abada” ในบันทึกของปินโตจึงถูก ฟิกูอิเยร์และโคแกนแปลว่า “แรด” ในเวลาต่อมา ปินโตจะใช้คำว่า “abada” เมื่อกล่าวถึง “จามรี(yaks)” ซึ่งเป็นสัตว์ต่าง (beast of burden) ในตาตาเรีย (Tataria) เพราะไม่มีศัพท์ดังกล่าวในภาษาโปรตุเกส และใช้คำภาษาอาหรับว่า “abida” ในที่อื่นๆอีกร่วม12ครั้งเมื่อกล่าวถึงสัตว์ใหญ่คล้ายแรดหรือสัตว์ต่างชนิดอื่นซึ่งไม่อาจหาคำมาใช้แทนได้
สรุป
ผู้เขียนเห็นว่างานนิพนธ์ของปินโตมีคุณค่าในทางประวัติศาสตร์มากกว่าจะถูกมองว่าเป็นเพียงวรรณกรรมประโลมโลกหรือนิยายผจญภัยของกลาสีเรือ แม้เนื้อหาบางตอนจะดูตื่นเต้นเร้าใจเกินกว่าจะมีความสมจริงตามทัศนะของนักประวัติศาสตร์ แต่ในสภาวะที่ยุโรปเพิ่งจะพ้นจากยุคแห่งการจุดไฟเผาหญิงสาวที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นแม่มดและยังคงเคร่งต่อจริยธรรมทางศาสนา มีใครบ้างที่จะกล้าเปิดเผยต่อสาธารณชนว่าตนเองเคยรับประทานเนื้อมนุษย์เพื่อประทังชีวิตกลางทะเลหลังจากถูกโจรสลัดโจมตี ข้อถกเถียงในงานของปินโตอาจจะมีอยู่ไม่น้อย แต่มีหลักฐานประวัติศาสตร์ชิ้นใดบ้างที่ปราศจากคำถามและความเคลือบแคลง งานของปินโตถูกตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความแม่นยำของศักราชก็เพราะบันทึกของเขาเป็นเอกสารที่เขียนขึ้นจากความทรงจำเมื่อเขาเดินทางกลับไปใช้ชีวิตอยู่ในโปรตุเกสระยะหนึ่งแล้ว
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐฯ เคยได้รับความเชื่อถือเป็นอย่างยิ่งว่ามีความแม่นยำในเรื่องศักราชและเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ (นิธิ, 2525 : 65) แต่ต่อมานักประวัติศาสตร์บางท่านก็เคยตั้งข้อสงสัยต่อสถานภาพดังกล่าว (นิธิ, 2525 : 6) ซึ่งถือเป็นความไม่เที่ยงของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ในทางกลับกันอาจจะมีผู้ใช้บันทึกของปินโตมาตรวจสอบความแม่นยำของเอกสารฉบับใดฉบับหนึ่งอย่างจริงจังในอนาคตบ้างก็ได้

วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

โรงเตี้ยมถ้ำง้อบ[ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์]



แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
โรงเตี้ยมถ้ำง้อบ
ท่องเที่ยวไชยปราการ บนเส้นทางระหว่างดอยอ่างขางและเชียงดาว
บนเส้นทางสาย 1340 ที่ตัดผ่านแนวเขาสลับซับซ้อนใกล้แนวชายแดนไทย-พม่า ระหว่างดอยอ่างขางและดอยเชียงดาว มีสถานที่ท่องเที่ยวริมทางที่น่าสนใจแวะเยี่ยมชมหลายแห่ง ในช่วงฤดูหนาวจะสวยงามเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นฤดูกาลของดอกไม้บาน เริ่มจากบัวตองเดือนพฤศจิกายน นางพญาเสือโคร่งหรือซากุระเมืองไทยในเดือนธันวาคม - มกราคม พร้อมกับทิวลิปที่อำเภอไชยปราการนำมาปลูกที่ดอยผาแดง ตำบลหนองบัว ระหว่างธันวาคม - มกราคม เพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวบนเส้นทางสายนี้
ตั้งอยู่ที่บ้านถ้ำง้อบ ตำบลหนองบัว เหมาะเป็นจุดแวะพักระหว่างทาง บนเส้นทาง 1340 จากเชียงดาวไปดอยอ่างขาง สถานที่แห่งนี้เดิมเป็ที่ตั้งค่ายทหารกองทัพกู้ชาติจีนคณะชาติ หรือ ก๊กมินตั๋ง (KMT) จากมณฑลยูนนาน กองทัพที่ 3 ของนายพลลีเหวินฮ้วน ซึ่งหลังจากการสู้รบในประเทศจีนจบลง กองทัพที่ 3 ได้ค้างอยู่ในแผ่นดินไทยและตั้งรกรากอยู่ที่นี่จนถึงปัจจุบันเช่นเดียวกับที่ดอยแม่สลอง ชาวชุมชนถ้ำง้อบยังคงรักษาวัฒนธรรม วิชีวิต รวมทั้งสิ่งปลูกสร้างเดิมของค่ายทหารไว้ และจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้ ส่วนเรือนนอนของทหารจัดทำเป็นที่พักไว้รองรับนักท่องเที่ยว มีโรงเตี๊ยมซึ่งเป็นจุดจำหน่ายสินค้าชุมชนและบริการอาหารจีนยูนนาน อาทิ ไก่ตุ๋นตังกวย ขาหมูหมั่นโถว ข้าวซอยยูนนาน ฯลฯ รวมทั้งมีขนมพื้นบ้าน สินค้าชุมชนไว้จำหน่ายแก่นักท่องเที่ยว

วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ 7

บทที่ 7
ตัวแทนจำหน่ายการท่องเที่ยว
แทรเวล เอเจนซี่(Travel agency)
หมายถึง ธุรกิจขายปลีกที่ได้รับอนุญาติให้ขายผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวแทนผู้ประกอบธุรกิจ
ความเป็นมา
ในอดีตผู้ทีต้องการเดินทางท่องเที่ยวจะต้องติดต่อซื้อสินค้าทางการท่องเที่ยวโดยตรงต่อมาจึงเกิดธุรกิจค้าปลีกที่อำนวยความสะดวกในการซื้อขึ้น โดยโทมัส คุก เกิดที่ประเทศอังกฤษ
บทบาทหน้าที่ของแทรเวล เอเจนซี่
1. จัดหาราคาหรืออัตราสินค้าทางการท่องเที่ยว
2. ทำการจอง
3. รับชำระเงิน
4. ทำการส่งบัตรโดยสารหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง
5. ช่วยเหลือลูกค้าในการซื้อสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวอื่นๆ
6. ช่วยดำเนินงานในการช่วยซื้อบัตรโดยสาร
7. ออกบัตรโดยสารเครื่องบินและเอกสารอื่นๆ
ปรโยชน์ของการใช้บริการของแทรเวล เอเจนซี่
1. แทรเวล เอเจนซี่ มีความชำนาญในการหาข้อมูลและวางแผนการท่องเที่ยว
2. แทรเวล เอเจนซี่ สามารถหาข้อเสนอหรือราคาที่ดีที่สุด
3. แทรเวล เอเจนซี่ ช่วยประหยัดเวลาและความลำบาก
4. แทรเวล เอเจนซี่ ช่วยแก้ปัญหาได้เมื่อเกิดข้อผิดพลาดหรือปัญหา
5. แทรเวล เอเจนซี่ รู้จักผู้ประกอบธุรกิจมากกว่า
6. แทรเวล เอเจนซุ้จักแหล่งท่องเที่ยวดีกว่า
ประเภทของแทรเวล เอเจนซี่
จะมีลักษณะคล้ายกันคือมีขนาดเล็กและเป็นธุรกิจของครอบครัวและให้บริการแก่ลูกค้าที่อยู่ในทำเลใกล้เคียง โดยมักจะขายผลิตภัณฑ์บริการท่องเที่ยวหลากหลายประเภท โดยอาจสรุปได้เป็น 4 ประเภท
1. แบบที่มาแต่เดิม
2. แบบที่ขายทางอินเตอร์เน็ต
3. แบบที่ชำนาญเฉพาะทาง
4. แบบที่ประกอบธุรกิจจากที่พัก
ประโยชน์ของการใช้บริการของบริษัททัวร์
1. ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
2. ประหยัดค่าใช้จ่าย
3. ได้ความรู้
4. ได้เพื่อนใหม่
5. ได้ความสบายใจและรู้สึกปลอดภัย
6. ไม่มีทางเลือกอื่น
ประเภทของทัวร์ แบบเหมาจ่ายแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆได้ 3 ประเภท
1. ทัวร์แบบอิสระ
2. ทัวร์แบบไม่มีผู้นำเที่ยว
3. ทัวร์แบบมีผู้นำเที่ยว

บทที่ 6

บทที่ 6
ที่พักแรม
พี่พักแรมมีบทบาทโดยตรงในการสนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยว เนื่องจากนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่นิยมเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางที่ห่างไกล และจะเป็นต้องค้างแรมเพื่อพักผ่อนระหว่างการเดินทาง
ความเป็นมา(ธรุกิจที่พักโรงแรมในสากล/ต่างประเทศ
ที่พักแรมมีมาตั้งแต่ยุคโบราณ ย้อนหลังไปถึงยุคอารยธรรมกรีกและโรมัน เกิดขึ้นสนองความต้องการที่พักแรมนักเดินทางที่ไม่สามารถไปกลับได้ในวันเดียว ปัจจัยประการสำคัญที่ส่งผลให้กิจการที่พักขยายตัวและมีการพัฒนาในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ ระบบการคมนานคมขนส่ง ทำธุรกิจที่พัก รูปแบบที่พักได้รับการออกแบบให้มีขนาดใหญ่ขึ้นและพัฒนาเป้นรูปแบบโรงแรมไฟฟ้า ซึ่งให้ความสะดวกสบายแก่ผู้เดินทางที่มีฐานะมากขึ้น โรมแรมเป็นธุรกิจที่พักแรมที่สำคัญในปัจจุบันคำเรียกที่พักว่า Hotel
ธุรกิจที่พักแรมในประเทศไทย
ธุรกิจที่พักแรมสำหรับบริการนักเดินทางต่างชาติในสมัยรัตนโกสินทร์มีด้วยกัน 4 กิจการโฮเต็ล หรือโรงแรมที่สำคัญในอดีต
1. โอเรียนเต็ลโฮเต็ล สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5
2. โฮเต็ลหัวหิน หรือ โรงแรมหัวหิน
3. โฮเต็ลวังพญาไท เป็นโรงแรมหรูในสมัยรัชกาลที่ 7
4. โรงแรมรัตนโกสินทร์ สร้างในสมัยรัชการที่ 8
ปัจจัยพื้นฐานในการบริการที่พักแรม
ที่พักเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่สนองตอบความต้องการพื้นฐานของนักท่องเที่ยวในการพักผ่อนหลับนอนระหว่างกานเดินทางไกลจากบ้าน ปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญได้แก่
- ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของลูกค้า
- ความสะอาดและสุขอนามัยในที่พัก
- ความสะดวกสบายจากบริการสิ่งอำนวยความสะดวกที่หลากหลาย
- ความเป็นส่วนตัว
- บรรยากาศการตกแต่งที่สวยงาม
- ภาพลักษณ์ของกิจการ และอื่นๆ
ประเภทที่พักโรงแรม
บริการที่พักแรมในปัจจุบัน้มีรูปแบบหลากหลายสอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยว สามารถจำแนกเป็น 2 กลุ่มสำคัญคือ
1. โรงแรม เป็นที่พักที่นิยมมากของนักท่องเที่ยวทั่วไป โรงแรมมาตราฐานสากลจะมีรูปแบบการดำเนินการบริการที่เป็นแบบแผน ด้านที่ตั้ง ด้านขนาด ด้านจุดประสงค์ของผู้มาพัก ด้านราคา ด้านระดับการบริการ และด้านการจัดการมาตราฐานโดยใช้สัญญาลักษณ์
2. ที่พักนักท่องเที่ยว บ้านพักเยาวชน หรือโฮเต้ล ที่พักพร้อมอาหารราคาประหยัด ที่พักริมทางหลวง ที่พักแบบจัดสรรเวลาพัก หรือไทม์แชริ่ง เกสต์เฮ้าส์
แผนกงานในโรงแรม
โรงแรมมีแบบแผนการดำเนินการที่เป็นรูปแบบเฉพาะ แบ่งเป้นแผนกงานสำคัญได้นี้
- แผนกงานส่วนหน้า
- แผนงานแม่บ้าน
- แผนอาหารและเครื่องดื่ม
- แผนกขายและการตลาด
- แผนกบัญชีและการเงิน
- แผนกทรัพยากรมนุษย์
ประเภทห้องพัก มี 4 แบบ
- Single ห้องพักสำหรับนอนคนเดียว
- Twin ห้องพักเตียงคู่แฝด
- Double ห้องพักเตียงคู่ที่เป็นเตียงเดียวขนาดใหญ่
- Suite ห้องชุดที่ภายในประกอบด้วยห้องพักตั้งแต่ 2 ห้องขึ้นไปโดยแบ่งเป็นสัดส่วน

บทที่ 5

บทที่ 5
การคมนาคมขนส่ง
การคมนาคมขนส่ง หมายถึง กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายคน สัตว์ สิ่งของจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
ความเป็นมา
ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีด้านการขนส่งถือว่าเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว ทำให้เกิดแรงจูงใจที่สำคัญต่อการเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่างๆที่ห่างไกลออกไป ได้มีการพัฒนาจนเจริญรุดหน้าทันสมัยขึ้นตามลำดับ ไม่ว่าจะเป็นการขนะส่ง ทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ
ประเภทธุรกิจการคมนาคมขนว่งเพื่อการท่องเที่ยว
กล่าวได้ว่าธุรกิจการคมนาคมขรส่งเพื่อการท่องเที่ยว สามารถแยกออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ ธุรกิจขนส่งทางบก ธุรกิจขนส่งทางน้ำและธุระกิจขนส่งทางอากาศ ดังนี้
ธุรกิจการขนส่งทางบก
การคมนาคมขนส่งทางบกจัดว่าเป้นรูปแบบการเดินทางที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากโดยเฉพาะการเดินทางโดยรถยนตร์ส่วนตัว เนื่องจากสะดวกสบาย คล่องตัวและประหยัด นอกจากรถยนต์แล้ว บังมีการเดินทางโดยรถไฟที่เป็นรูปแบบการเดินทางอีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมพอสมควร
ธุรกิจการขนส่งทางน้ำ
ประวิติศาสตร์ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เรือถูกใช้เป็นพาหนะการเดินทางสำรวจดินแดนเพื่อการค้าขายมานานกว่าพันปี นอกจากนี้เรือยังถูกใช้เป็นพาหนะการเดินทางคมนาคมขนส่งระหว่างเมืองท่าต่างๆ
ธุรกิจการขนส่งทางอากาศ
สงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อให้เกิดผลดีในระยะยาวต่อการเติบโตของธุรกิจการบินพาณิชย์ เช่น เทคโนโลยีการบินด้านความเร็ว ประสิทธิภาพของเชื่อเพลิงที่คิดค้นในช่วงสงคราม การพัฒนาลำตัวเครื่องบินให้กว้างขึ้น ความรู้เรื่องอากาศ และการปรับปรุงแผนที่ทางอากาศ ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการขนว่งผู้โดยสานทางอากาศได้เป็นอย่างดี มีความสะดวก ปลดภัย รวดเร็ว รวมทั้งราคาถูกกว่าการเดินทางโดยพาหนะอื่น

บทที่ 4

บทที่ 4
องค์ประกอบสำคัญของอุตสาหกรรทการท่องเที่ยว (แหล่งท่องเที่ยว)
แหล่งท่องเที่ยวจัดเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งที่มีช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและเป็นปัจจัยที่ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางเข้ามาในประเทศ หากไร้ซึ่งแหล่งท่องเที่ยว คงไม่มีนักท่องเที่ยวอยากเดินทางเข้ามายังประเทศนั้นๆ มีคำจำกัดความ 3 คำ ที่จำเป็นในการศึกษาแหล่งท่องเที่ยว
1. ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว (Tourism Resources) สิ่งที่เกิดขึ้นเอาตามธรรมชาติ
2. จุดหมายปลายทาง (Destination) สถานที่ที่ใดที่หนึ่ง อาจจะเฉพราะเจาะจง
3. สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว (Tourist Attraction) สถานที่ที่มีศักยภาพในการดึงดูดให้ผู้เดินทางเข้าไปเยี่ยมชม
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยแบ่งแลท่องเที่ยวออกเป็น 3 ประเภทคือ
1. แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติ
2. แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น
3. แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นศิลปวัฒนธรรม ประเพณี
แหล่งท่องเที่นสที่เป็รธรรมชาติ
หมายถึง สถานที่ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติทั้งด้านชีวภาพ และกายภาพ รวมทั้งบริเวณที่มนุษย์เข้าไปปรังปรุงแต่งเพิ่มเติมจากสภาพธรรมชาติในบริเวณอื่น
แหล่งท่องเที่ยวที่มนูษย์สร้างขึ้น
คือ สถานที่ที่มนุษยืสร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างและอายุ รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกันออกไป แต่ท้ายที่สุกก็กลายเป็นทรัพยากรที่มีค่าทางการท่องเที่ยวได้แก่ ศาสนา โบราณสถาน โบราณวัตถุ และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ
แหล่งท่องเที่ยที่เป็นศิลปวัฒนธรรม ประเพณี
เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่พัฒนามาจากวัฒนธรรม ประเพณี การดำรงชีวิตของผู้คน เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันอย่างปกติในสังคม
แหล่งท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย
ภาคกลาง
อาหารจะมีรสชาติผสมผสาน มีทั้งเปรี้ยว หวาน เค็ม เครื่องเทศต่างๆ มักใช้กะทิเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร
ภาคเหนือ
อาหารทางเหนือไม่นิยมใส่น้ำตาล เพราะความหวานจะได้จากพืชผักต่างๆ จากการต้ม การผัด อาหารภาคเหนือที่รู้จักกัน อาทิ น้ำพริกหนุ่มมีเครื่องแนมคือแคบหมู ขนมจีนน้ำเงี้ยว แกงฮังเล ไข่มดส้ม เป็นต้น
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อาหารจะมีรสชาติเผ็ด เปรี้ยว เค็ม จึงมีการถนอมอาหารในรูปแบบต่างๆ อาทิ ปลาร้า เนื้อเค็ม เป็นต้น
ภาคใต้
อาหารหลักมักเป็นอาหารทะเล พวกกุ้ง หอย ปู ปลา ซึ่งโดยปกติจะมีกลิ่นคาว จึงมักใช้เครื่องเทศและขมิ้นเพื่อดับกลิ่น จึงมีรสเผ็ดร้อน เค็ม และเปรี้ยว แต่ไม่นิยมรสหวาน